top of page

ประวัติความเป็นมาของพระเกจิอาจารย์ดังภาคเหนือ

  • รูปภาพนักเขียน: panuwat tangnuanjun
    panuwat tangnuanjun
  • 21 ส.ค. 2567
  • ยาว 1 นาที


เกจิอาจารย์ แปลว่า “อาจารย์บางพวก” หลังพระโคตมพุทธเจ้าปรินิพพานเหล่าสาวกของพระองค์ได้รวบรวมคำสอนของพระองค์ไว้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่า “พระไตรปิฎก” ซึ่งต่อมามีภิกษุผู้เป็นปราชญ์ได้แต่งอรรถกถาและฎีกาเพื่ออธิบายข้อความในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น เรียกภิกษุผู้แต่งหนังสือว่า พระอรรถกถาอาจารย์และพระฎีกาจารย์ ซึ่งในหนังสือที่แต่งมีการอ้างอิงถึงความคิดเห็นอาจารย์ท่านอื่นทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับผู้แต่ง จึงเรียกอาจารย์ที่ถูกอ้างถึงว่า เกจิอาจารย์


ในปัจจุบัน “เกจิอาจารย์” ถูกใช้ในความหมายที่ต่างออกไปจากเดิม คือ ใช้เรียกภิกษุที่มีความรู้ความสามารถในด้านคาถาอาคมและการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง หรือเรียกว่า พระเกจิ


โดยเส้นทางท่องเที่ยวครั้งนี้ของพระเกจิอาจารย์ ประกอบด้วย พระเกจิอาจารย์ 4 รูป ดังนี้


  1. หลวงพ่อพรหม ถาวโร พุทธคุณเด่นด้านวาจาศักดิ์สิทธิ์

  2. พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) พุทธคุณเด่นด้านวิทยาอาคมและเครื่องรางของขลัง

  3. หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ (หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน) พุทธคุณเด่นด้านคงกระพันชาตรีแคล้วคลาดเมตตามหานิยมโชคลาภ และค้าขาย

  4. พระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข เกสโร) พุทธคุณเด่นด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดคงกระพัน

Comments


© 2024 by Thaiculturaltourism

  • Facebook
  • Instagram
bottom of page